เครื่องปฏิกรณ์แบบกะ
( Batch Reactor )
Batch
Reactor เป็นเครื่องปฏิกรณ์ที่สารตั้งต้นทั้งหมดจะถูกนำใส่เครื่องปฏิกรณ์ในขั้นตอนแรก
จากนั้นเครื่องปฏิกรณ์จะถูกปิดเป็นระบบปิดจนกระทั่งปฏิกิริยาเสร็จสิ้น
อย่างไรก็ตามได้มีการพัฒนา batch reactor ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานให้เป็นไปตามความต้องการมากที่สุด
และเพื่อทำให้เป็นเทคโนโลยีสะอาด จึงได้มีการผลิต Buss reactor ขึ้น ดังรูป
รูปที่ 1 แสดง Buss reactor
โดยปกติแล้ว
เครื่องปฏิกรณ์จะมีเครื่องกวน ( Stirrer ) อยู่ด้วย
โดยการเลือกชนิดของเครื่องกวนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของสารที่จะทำการผสม
ซึ่งชนิดของใบพัดและ agitator ที่ใช้ในเครื่องปฏิกรณ์แบบ batch
ดังแสดงในรูปที่ 2 , 3 และ 4
รูปที่ 2
แสดงใบพัดชนิดต่างๆ
รูปที่ 3 แสดง agitators แบบต่างๆ
รูปที่ 4
แสดงลักษณะการหมุนของเครื่องกวนแบบต่างๆ ใน batch reactor
รูปที่ 5 แสดง batch
reactor แบบต่างๆ
(a) batch
reactor ที่มี double jacket (b) batch reactor ที่มี double jacket และ coil อยู่ภายใน
(c )
batch reactor ที่มี external heat exchanger และ (d ) batch reactor ที่มีเครื่องทำความเย็น
การเขียนสมดุลมวลสารสำหรับสารตั้งต้น
A และปริมาตรของสารที่อยู่ภายในเครื่องปฏิกรณ์หรือภายในระบบสามารถเขียนได้ดังนี้
อัตราการไหลเข้าของสาร A = อัตราการไหลออกของสาร
A +
อัตราการหายไปของสาร A
(ต่อหนึ่งหน่วยเวลา)
(ต่อหนึ่งหน่วยเวลา) (ต่อหนึ่งหน่วยเวลา)
+ อัตราการสะสมของสาร
A
(ต่อหนึ่งหน่วยเวลา)
(1) (2) (3)
(4)
ถ้าสาร A ถูกสร้างขึ้นโดยการเกิดปฏิกิริยา
เทอม consumption จะมีค่าเป็นลบ
สมการสมดุลความร้อนก็คล้ายกับการสมดุลมวลสาร
แต่ไม่ต้องคำนึงถึงถ้าเป็นปฏิกิริยา Isothermal ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า
ถ้าใช้สารตั้งต้น Aเป็น limiting reactant จะทำได้สะดวกที่สุด
เนื่องจากเป็นสารตั้งต้นที่ถูกใช้ก่อนเพื่อให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้
เครื่องปฏิกรณ์แบบ batch ในอุดมคติจะเป็นแบบที่มีการผสมแบบสมบูรณ์ ( perfectly mixed ) ซึ่งก็คือความเข้มข้นขององค์ประกอบต่างๆ ภายในเครื่องปฏิกรณ์จะมีค่าเท่ากัน
ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากไม่มีสารเข้าและออกจากเครื่องปฏิกรณ์ระหว่างเกิดปฏิกิริยา
การเขียนสมดุลมวลสารสำหรับองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งใช้ได้กับเครื่องปฏิกรณ์ทุกชนิด
โดยการสมดุลมวลสารของสาร A ดังสมการที่ (1) จะได้ว่า
อัตราการไหลเข้า (1)
= อัตราการไหลออก
(2) = 0
อัตราการหายไปของสาร A (3)
= -อัตราการสะสมของสาร A (4)
จะได้ว่า
อัตราการหายไปของสารตั้งต้น = (-rA)Vr
kmols-1
(-rA) = อัตราการเกิดปฏิกิริยาของสาร A (kmolm-3
s-1 )
Vr = ปริมาตรของเครื่องปฏิกรณ์ ( m3 )
ในกรณีของเครื่องปฏิกรณ์แบบ
batch ที่อยู่ในวัฎภาคแก๊ส
ปริมาตรที่แท้จริงของเครื่องปฏิกรณ์และปริมาตรของสารตั้งต้นจะมีค่าเท่ากัน
แต่สำหรับปฏิกิริยาที่อยู่ในวัฏภาคที่เป็นของเหลว
จะมีช่องว่างอยู่เหนือพื้นที่ผิวของของเหลว จะได้ว่า
Vt เป็นปริมาตรรวมทั้งหมดภายในเครื่องปฏิกรณ์
เทอมของอัตราการสะสมของสารตั้งต้นกำหนดโดยอัตราการเปลี่ยนแปลงโมลของสาร
A ต่อหนึ่งหน่วยเวลา
ดังสมการ
อัตราการสะสมของสาร A = dNA/dt
( kmols-1 )
จะได้ว่า
.dNA/dt = -(-rA)Vr
-d(CA.Vr)/dt = (-rA).Vr
-rA เป็นอัตราการหายไปของสาร A
ต่อหนึ่งหน่วยเวลาของปฏิกิริยาการผสม
CA เป็นความเข้มข้นของสาร A ( kmolm-3
) , ( CA = nA/Vr )
โดยปกติแล้ว
ปริมาตรที่เปลี่ยนแปลงไปของปฏิกิริยาแบบกะจะมีค่าน้อยมาก
ระบบจึงมีปริมาตรคงที่
สำหรับระบบที่มีปริมาตรคงที่
-dCA/dt =
( -rA )
(2)
เพื่อให้ง่ายยิ่งขึ้น สามารถเขียนสมการที่ (2) ในเทอมของ fractional conversion (XA) ขององค์ประกอบ
A สำหรับระบบที่มีปริมาตรคงที่ จะได้ว่า
CA = CA0
( 1-XA ) และ dCA
= -CA0dXA
CA0dXA/dt = (-rA
)
และ
.dt = CA0dXA/( -rA )
(3)
เมื่ออินทิเกรตสมการ (3) ตั้งแต่เวลา =0 ถึงที่เวลา t
จะได้
.t = CA0ò0XAf (dXA/(
-rA ) )
(4)
-rA = kf(C)
.k = ค่าคงที่อัตราการเกิดปฏิกิริยา
.f(C) = ฟังก์ชั่นของความเข้มข้นของสารที่เข้าทำปฏิกิริยา
และสำหรับระบบที่ผันกลับได้จะ
เป็นฟังก์ชั่นของความเข้มข้นของสารตั้งต้นของปฏิกิริยาย้อนกลับ
ซึ่งอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่ปริมาตรคงที่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป
สามารถแสดงได้ดังกราฟ
รูปที่ 6 แสดงปฏิกิริยาภายใน batch
reactor ที่มีปริมาตรคงที่
ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบระหว่างปฏิกิริยาอันดับศูนย์
, อันดับหนึ่ง และอันดับสอง
1.
Batch
reactor เป็นเครื่องปฏิกรณ์ที่สำคัญที่ใช้ในกระบวนการผลิตเวชภัณฑ์
และอาหาร เนื่องจากสามารถกำหนดตัวแปรต่างๆ ได้
2.
สามารถดัดแปลงให้เหมาะสมกับการผลิตผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ
เนื่องจากมีหลักการทำงานอย่างง่ายในการเปลี่ยนสารชนิดหนึ่งไปเป็นสารอีกชนิดหนึ่ง
และไม่มีการสูญเสียขณะเกิดปฏิกิริยา
3.
การดำเนินงานหรือควบคุมดูแลอย่างทั่วถึงสามารถทำได้ง่าย
4.
สามารถกำหนดเวลาในการดำเนินงานแต่ละครั้งให้เท่ากันได้
5.
ลงทุนต่ำ
6.
ประกอบและทำความสะอาดได้ง่าย
7.
มักใช้กับผลิตผลที่มีราคาแพง
เนื่องจากผลิตผลที่มีราคาแพงทำให้ไม่สามารถใช้วิธีการแบบต่อเนื่องได้
1.
ค่าใช้จ่ายด้านแรงงานสูง
2.
วิธีที่ใช้ในการควบคุมเป็นแบบพื้นฐาน
ทำให้เกิดปัญหาอยู่บ่อยๆ เนื่องจากการออกแบบไม่สามารถตอบสนองต่อกระบวนการที่เป็น unsteady-state ของสารต่างๆ
ได้ทั้งหมด
3.
ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพที่แตกต่างกันมากกว่าการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง